อันดับล่าสุดซูเปอร์คอมพิวเตอร์กับ Top500.org
ข่าวล่ามาช้าไปเล็กน้อยกับการจัดอันดับสุดยอดซูเปอร์คอมพิวเตอร์ล่าสุดของ Top500.org ที่จัดกันปีละ 2 ครั้งเพื่อดูว่าใครจะได้เป็นสุดยอดคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก โดยวัดจาก Linpack benchmark ให้คำนวณสมการที่มีจุดทศนิยมจำนวนมาก (floating point) ต่อวินาทีแล้ววัดผลออกมาเป็น FLoating Point Operations Per Second หรือเรียกสั้นๆว่า FLOPS โดยอันดับ 1 ในคราวนี้ยังเป็น BlueGene/L จาก IBM ยังรักษาตำแหน่งไว้เหนียวแน่นกับความเร็ว 280 Tera FLOPS (เทียบกับ Intel CoreDuo ยังวิ่งอยู่แถวๆ 1 Giga FLOPS หรือต่างกันประมาณ 280,000 เท่า!!!)มาดูกันเลยดีกว่าว่าใครอยู่ตรงไหนบ้าง
Ranking
Site
Computer
Rmax (Tera Flops)
1.
Lawrence Livermore National Laboratory-USA
IBM BlueGene/L
280
2.
Sandia National Laboratories-USA
Cray Red Storm
101
3.
IBM TJ Watson Research Center-USA
IBM BGW
91
4.
Lawrence Livermore National Laboratory-USA
IBM ASC Purple
75
5.
Barcelona Supercomputing Center-Spain
IBM MareNostrum
62
6.
Sandia National Laboratories-USA
Dell Thunderbird
53
7.
Commissariat a l'Energie Atomique-France
Tera-10
52
8.
NASA-USA
SGI Columbia
51
9.
Tokyo Institute of Technology-Japan
NEC/SUN TSUBAME
47
10.
Oak Ridge National Laboratory-USA
CRAY Jaguar
43
เมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมาจะพบว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในงานวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ Life Sciences มากขึ้น จากเดิมที่เน้นทางการทหาร (เช่นทดลองระเบิดนิวเคลียร์) วิศวกรรม (Thermodynamics และ Nanotechnologies) และธรณีวิทยา (แผ่นดินไหวและสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ) ทาง Life Sciences เองก็มีทั้งการหา Protein structure และ binding/acitve sites ของ protein โครงสร้าง 3 มิติ การชนกันและการเกิดปฏิกิริยาระดับโมเลกุล การทดลองต่างๆที่เดิมต้องใช้ระยะเวลานานก็อาศัยคอมพิวเตอร์คำนวณและพยากรณ์ผลการทดลองทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้ (มีคำศัพท์ที่เรียกว่าเปลี่ยนจาก in vitro เป็น in silico เลยที่เดียว)
ประเทศไทยเองก็มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้กับเค้าเหมือนกัน ส่วนมากอยู่ในมหาวิทยาลัยใช้สำหรับงานวิจัย และบริษัทใหญ่เช่นพวกมือถือต่างๆเอาไว้คำนวณบิลและงานด้านตัวเลขและการบัญชี (คุ้นๆว่า AIS และ DTAC ก็เคยมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ติด Top500 เมื่อหลายปีก่อน) อันดับล่าสุดไม่มีประเทศไทยอยู่ แต่ในภูมิภาคนี้มีสิงคโปร์ติดอยู่อันดับที่ 343 และ 425 ส่วนมาเลเซียมีอยู่ 3 เครื่องในอันดับที่ดีกว่าเล็กน้อย 122 310 และ 394 ตามลำดับส่วนใครที่สงสัยว่ามหาอำนาจทางเทคโนโลยีอย่างญี่ปุ่นเจ้าของแชมป์เก่าหลายสมัยอย่าง Earth Simulator หายไปไหน คำตอบก็คือล่าสุดตกไปอยู่อันดับที่ 14 เรียบร้อยแล้ว แต่อีกไม่นานญี่ปุ่นจะมาทวงแชมป์คืนเนื่องจากรัฐบาลตั้งเป้าหมายจะสร้างคอมพิวเตอร์ระดับ 10 petaflops (10000 Teraflops) ให้ได้เร็วๆนี้ งานนี้ BlueGene ได้หนาวแน่
หมายเหตุ ที่ญี่ปุ่นตอนนี้ก็มีคอมพิวเตอร์ MDGRAPE-3 ที่เร็วกว่า BlueGene/L ตั้งอยู่ที่สถาบันวิจัย RIKEN โดยวัดความเร็วได้ระดับ petaflops หรือเร็วกว่า BlueGene/L ประมาณ 3 เท่า แต่เนื่องจากเครื่องที่ว่าออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน (หาโครงสร้าง 3 มิติของโปรตีน) เลยไม่สามารถรันโปรแกรมวัด Linpack benchmark ได้จึงต้องตกสำรวจไปจาก Top500 โดย
ข่าวล่ามาช้าไปเล็กน้อยกับการจัดอันดับสุดยอดซูเปอร์คอมพิวเตอร์ล่าสุดของ Top500.org ที่จัดกันปีละ 2 ครั้งเพื่อดูว่าใครจะได้เป็นสุดยอดคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก โดยวัดจาก Linpack benchmark ให้คำนวณสมการที่มีจุดทศนิยมจำนวนมาก (floating point) ต่อวินาทีแล้ววัดผลออกมาเป็น FLoating Point Operations Per Second หรือเรียกสั้นๆว่า FLOPS โดยอันดับ 1 ในคราวนี้ยังเป็น BlueGene/L จาก IBM ยังรักษาตำแหน่งไว้เหนียวแน่นกับความเร็ว 280 Tera FLOPS (เทียบกับ Intel CoreDuo ยังวิ่งอยู่แถวๆ 1 Giga FLOPS หรือต่างกันประมาณ 280,000 เท่า!!!)มาดูกันเลยดีกว่าว่าใครอยู่ตรงไหนบ้าง
Ranking
Site
Computer
Rmax (Tera Flops)
1.
Lawrence Livermore National Laboratory-USA
IBM BlueGene/L
280
2.
Sandia National Laboratories-USA
Cray Red Storm
101
3.
IBM TJ Watson Research Center-USA
IBM BGW
91
4.
Lawrence Livermore National Laboratory-USA
IBM ASC Purple
75
5.
Barcelona Supercomputing Center-Spain
IBM MareNostrum
62
6.
Sandia National Laboratories-USA
Dell Thunderbird
53
7.
Commissariat a l'Energie Atomique-France
Tera-10
52
8.
NASA-USA
SGI Columbia
51
9.
Tokyo Institute of Technology-Japan
NEC/SUN TSUBAME
47
10.
Oak Ridge National Laboratory-USA
CRAY Jaguar
43
เมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมาจะพบว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในงานวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ Life Sciences มากขึ้น จากเดิมที่เน้นทางการทหาร (เช่นทดลองระเบิดนิวเคลียร์) วิศวกรรม (Thermodynamics และ Nanotechnologies) และธรณีวิทยา (แผ่นดินไหวและสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ) ทาง Life Sciences เองก็มีทั้งการหา Protein structure และ binding/acitve sites ของ protein โครงสร้าง 3 มิติ การชนกันและการเกิดปฏิกิริยาระดับโมเลกุล การทดลองต่างๆที่เดิมต้องใช้ระยะเวลานานก็อาศัยคอมพิวเตอร์คำนวณและพยากรณ์ผลการทดลองทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้ (มีคำศัพท์ที่เรียกว่าเปลี่ยนจาก in vitro เป็น in silico เลยที่เดียว)
ประเทศไทยเองก็มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้กับเค้าเหมือนกัน ส่วนมากอยู่ในมหาวิทยาลัยใช้สำหรับงานวิจัย และบริษัทใหญ่เช่นพวกมือถือต่างๆเอาไว้คำนวณบิลและงานด้านตัวเลขและการบัญชี (คุ้นๆว่า AIS และ DTAC ก็เคยมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ติด Top500 เมื่อหลายปีก่อน) อันดับล่าสุดไม่มีประเทศไทยอยู่ แต่ในภูมิภาคนี้มีสิงคโปร์ติดอยู่อันดับที่ 343 และ 425 ส่วนมาเลเซียมีอยู่ 3 เครื่องในอันดับที่ดีกว่าเล็กน้อย 122 310 และ 394 ตามลำดับส่วนใครที่สงสัยว่ามหาอำนาจทางเทคโนโลยีอย่างญี่ปุ่นเจ้าของแชมป์เก่าหลายสมัยอย่าง Earth Simulator หายไปไหน คำตอบก็คือล่าสุดตกไปอยู่อันดับที่ 14 เรียบร้อยแล้ว แต่อีกไม่นานญี่ปุ่นจะมาทวงแชมป์คืนเนื่องจากรัฐบาลตั้งเป้าหมายจะสร้างคอมพิวเตอร์ระดับ 10 petaflops (10000 Teraflops) ให้ได้เร็วๆนี้ งานนี้ BlueGene ได้หนาวแน่
หมายเหตุ ที่ญี่ปุ่นตอนนี้ก็มีคอมพิวเตอร์ MDGRAPE-3 ที่เร็วกว่า BlueGene/L ตั้งอยู่ที่สถาบันวิจัย RIKEN โดยวัดความเร็วได้ระดับ petaflops หรือเร็วกว่า BlueGene/L ประมาณ 3 เท่า แต่เนื่องจากเครื่องที่ว่าออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน (หาโครงสร้าง 3 มิติของโปรตีน) เลยไม่สามารถรันโปรแกรมวัด Linpack benchmark ได้จึงต้องตกสำรวจไปจาก Top500 โดย
แหล่งข้อมูลมาจากเว็บhttp://www.bloggang.com/
1 ความคิดเห็น:
หมาน่ารักดี นะ ไม่มีเบอรไม่รู้ จะโทรคุยยังไง แต่ก็ขอบใจที่เม้นมาให้ เราขอเบอร์เธอหน่อยดิ เธอ คงไม่รู้ว่าเราแอบเธอ แต่ ยังไงก็ ชั่ง ไม่รู้ละดีแล้ว เป็นห่วงอยู่ห่างๆ นี้ละ คิดถึง บี เสมอ นะ จากผู้ชายแอบมองเธอ
แสดงความคิดเห็น